“อุตสาหกรรมการเงิน” กับ Hyperscale Data Center ความจำเป็นในโลก Financeverse

“อุตสาหกรรมการเงิน” กับ Hyperscale Data Center ความจำเป็นในโลก Financeverse

“อุตสาหกรรมการเงิน” กับ Hyperscale Data Center ความจำเป็นในโลก Financeverse

 โดย เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย)

 

                                ………………………………..

               STT GDC Thailand ชู 3 มาตรฐานสำคัญ “Design, Security และ Green Energy”

                             หนุนการเติบโตและปรับขนาดธุรกิจการเงินสู่ความสำเร็จ

                                …………………………………..

 

            “ธุรกิจการเงิน” คือกระดูกสันหลังสำคัญของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่ปรับตัวได้อย่างโดดเด่นที่สุดในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร สถาบันการเงินต่าง ๆ ฟินเทคสตาร์ทอัพ (FINTECH) หรือบริษัทที่อยู่ในธุรกิจการเทรดเงินคริปโตฯ ต่าง ๆ ข้อมูลจากเอกสาร Payment Data Indicator ที่จัดทำโดย ธปท. เผย ปริมาณ e-Payment เดือนมกราคมปี 2565 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ย 320 รายการ/คน/ปี หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 8.3 ล้านล้านบาท สะท้อนชัดเจนถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ใช้ที่เปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ โดยตัวแปรสำคัญคือการนำเทคโนโลยี Cloud, Blockchain, Big Data, Chatbot, AI, Machine Learning, Digital ID [Face recognition] และแพลตฟอร์ม Low-Code ต่าง ๆ มาใช้เพื่อสร้างสรรค์และปรับแต่งนวัตกรรมด้านการเงินสำหรับรองรับความต้องการของลูกค้าและพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ในระบบนิเวศทางการเงิน

            ประเทศไทยมี FINTECH ที่เป็นสมาชิกของสมาคมฟินเทคประเทศไทยจำนวนเกือบ 70 บริษัท (อ้างอิงข้อมูลจาก ธปท.) ในขณะที่เทคคอมพานีต่าง ๆ ก็ปรับตัวขยายแพลตฟอร์มทางการเงินกลายเป็น TECHFIN เพื่อเติมเต็มธุรกิจของตนเองมากยิ่งขึ้น ประกอบกับกระแสการตื่นตัวรับเทรนด์ Metaverse ที่กระตุ้นการปรับแผนการดำเนินงานภายในภาคธุรกิจการเงินที่กลายเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ เกิดเป็นระบบนิเวศทางการเงินแห่งอนาคตที่พึ่งพาดิจิทัลเต็มรูปแบบ “Financeverse”

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำคัญของธุรกิจการเงินกับการก้าวไปสู่ Financeverse

                นอกจากนวัตกรรมการเงินที่ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าและพาร์ทเนอร์แล้ว Tech Talents & Skill sets ใหม่ ๆ ยังถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ธุรกิจการเงินมองข้ามไม่ได้ และสามารถเติมเต็มศักยภาพของบุคลากรในโลกอนาคต, นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอื่น ๆ อาทิ เครือข่ายที่รวดเร็วและมีความเสถียร, IT โซลูชั่นและเทคโนโลยีคลาวด์ที่สามารถปรับแต่ง (Customize) ได้ตามที่ธุรกิจต้องการ, ระบบ Cybersecurity ที่ทันสมัย ปกป้องหลายชั้น, และพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล (Data) ที่มีความน่าเชื่อถือและปรับขนาดได้ พร้อมความมั่นคงด้านพลังงานด้วยกำลังไฟฟ้าที่รองรับการดำเนินงานตลอด 24×7 และระบบสำรองพลังงานเต็มรูปแบบที่มีอยู่ใน Hyperscale Data Center

ทำไม Hyperscale Data Center ถึงมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเงินไปสู่ “Financeverse”

                ด้วยปริมาณดาต้าบวกกับความคับคั่งของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมหาศาล มีความซับซ้อนมากขึ้นและที่สำคัญที่สุดข้อมูลลูกค้าถือเป็น “สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีค่าสูงสุด” ของภาคการเงินที่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์และวางแผนธุรกิจที่อ่านเกมขาดจะสามารถกำหนดกลยุทธ์การตลาด ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินใหม่ ๆ ได้อย่างเหมาะสมในเวลาที่ใช่ด้วยดาต้าที่มีในมือ อ้างอิงจาก Techjuly ระบุตลาดการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Big Data ในธุรกิจธนาคารทั่วโลกคาดว่าจะมีมูลค่ามากถึง 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1.8 แสนล้านบาท) สอดคล้องกับปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตมือถือที่เติบโตสัมพันธ์กัน โดย Statista คาดว่าในปี 65 นี้ทั่วโลกจะมีการใช้มากถึง 77.5 เอกซะไบต์ (Exabyte) นับเป็นดาต้ามหาศาลที่ต้องจัดเก็บ

                นายศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรนาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอสที เทเลมีเดีย โกล บอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) หรือ STT GDC Thailand กล่าวว่า “เราตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ของดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นระดับไฮเปอร์สเกลและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้แข็งแกร่ง มั่นคง ปลอดภัยและยั่งยืน เพื่อช่วยทำให้กระบวนการเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและเข้มแข็ง ซึ่งการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่ตอบโจทย์ของประเทศจะต้องมองให้รอบด้านมีทั้ง ‘มาตรฐานความปลอดภัย’ (Security) และ ‘ประสิทธิผล’ (Efficiency) เป็นหลัก”

                “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ เราต้องมีนวัตกรรมที่ทันสมัยและปลอดภัยมารองรับและปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม มีแนวคิดการกำหนดลำดับความสำคัญที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งการออกแบบมาตรฐานระดับสากลจะไม่เป็นเพียงการสร้างมาตรฐานใหม่ในมุมของ STT GDC Thailand หรือ ของลูกค้าเท่านั้น แต่จะสร้างความแข็งแกร่งในเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสำหรับตลาดในประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) ที่ยังมีความท้าทายด้านข้อกฎหมาย และการโซนนิ่งดาต้าเซ็นเตอร์ว่าตำแหน่งที่ตั้งควรจะอยู่ที่ไหน ดังนั้นกลยุทธ์การมองเรื่องทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์กลางใจเมือง ปลอดภัยต่อภัยธรรมชาติ และสามารถขยายได้ตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรา” ศุภรัฒศ์ กล่าวเพิ่มเติม

                “เหตุผลสำคัญที่ภาคการเงินควรพิจารณาความได้เปรียบจากการใช้ Hyperscale Data Center มี 3 ประการ ได้แก่ 1) Scale ปรับขนาดได้ตามความต้องการของธุรกิจ รองรับปริมาณการใช้/เก็บดาต้าปริมาณมหาศาลและทวีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วได้ 2) Advance Secure มีความปลอดภัยขั้นสูงสุดทั้งรูปแบบ Physical & Virtual และ 3) ตอบโจทย์ ESG (Environmental Social and Governance) ที่กำลังเป็นข้อกำหนดพื้นฐานระดับโลกและเป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำธุรกิจและการลงทุนวันนี้” นายศุภรัฒศ์ กล่าวสรุป

             3 มาตรฐานสำคัญ “Design, Security และ Green Energy” ใน Hyperscale Data Center ที่ช่วยหนุนการเติบโตธุรกิจการเงินจากนี้ไป ในมุมมองของ STT GDC Thailand ได้แก่

                1. Data Center Designs  คุณภาพการออกแบบและก่อสร้างมาตรฐาน ที่ปัจจุบันตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานสากลของ Uptime Institute Tier III Certification เป็นหลัก มุ่งเน้นการประเมินและรับรองดาต้าเซ็นเตอร์ที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แม้อยู่ในระหว่างการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ ทั้งนี้ STT GDC Thailand เองก็ได้รับการรับรองมาตรฐาน Uptime Tier 3 เช่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังเป็นผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์รายแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน TIA-942 Certification Rated-3 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่รองรับความปลอดภัยทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย ความปลอดภัยจากอัคคีภัย สถาปัตยกรรม ฯลฯ ซึ่งเจาะลึกในเรื่องของความปลอดภัยในระดับ Surrounding Area หรือบริบทแวดล้อมรอบด้านว่าเป็นทำเลยุทธศาสตร์หรือไม่ มีความเหมาะสมและความปลอดภัยสูงหรือไม่ มีโอกาสหรือมีความเสี่ยงจากอุบัติภัยต่าง ๆ หรือไม่ ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมรอบข้างดาต้าเซ็นเตอร์ใช้วัตถุอันตรายหรือไม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเท่าไรหรือการป้องกันการน้ำท่วมอย่างไร มาตรฐาน TIA-942 จะลงลึกถึงระดับการปฏิบัติการ (Performance) ของดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งจะวัดระดับการใช้พลังงานทั้งหมด การใช้อุปกรณ์ต่างๆ มีมาตรฐานมากน้อยแค่ไหน จะมีการคำนวณรายละเอียดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมุ่งเน้นในเรื่องของ ‘Efficiency’ หรือประสิทธิผล

                2. Data Center Security ที่ต้องครอบคลุมไปถึงมาตรฐาน TVRA, ISO27000 และ PCI-DSS โดยหลักการของมาตรฐานเหล่านี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางกายภาพ และความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี เช่น มาตรฐาน TVRA จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับภัยคุกคาม อาทิ การโจรกรรม วัตถุระเบิด การลอบวางเพลิง จนถึงการเข้าสถานที่โดยไม่ได้รับอนุญาต การบุกรุก และการก่อการร้าย รวมถึงการดูแลอาคารดาต้าเซ็นเตอร์ สิ่งอำนวยความสะดวกภายใน อาคารและสภาพแวดล้อมโดยรอบ และอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ ขณะที่มาตรฐาน ISO 27001 จะแสดงให้เห็นว่าบริษัทได้นำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านความปลอดภัยมาใช้ในการปกป้องข้อมูลและการจัดการความเสี่ยงสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งรวมไปถึงมาตรฐานด้านความมั่นคงทางไอทีสำหรับองค์กรที่ต้องจัดการกับข้อมูลการชำระเงิน (PCI-DSS) เพื่อตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยของข้อมูลของลูกค้าในระดับสูงสุด

                3. Green Energy ดาต้าเซ็นเตอร์ที่อยู่ในระดับไฮเปอร์สเกลจะใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างมาก ซึ่ง STT GDC นับเป็นผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์รายแรก ๆ ที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิผลและมาตรฐานของการใช้พลังงานทั้งน้ำ ไฟฟ้า รวมถึงคุณภาพอากาศภายในโครงการ โดยคุณสมบัติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นจากการที่ STT GDC ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียว LEED Gold (ในหมวดดาต้าเซ็นเตอร์) ที่นอกจากจะบ่งบอกถึงเรื่องการประหยัดพลังงานและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสื่อถึงการใช้วัสดุ ทรัพยากร และการบริหารจัดการสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพ โดยมาตรฐานดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์หันมาใช้ Green Energy กันมากขึ้น ซึ่งตอนนี้มีสัดส่วนการใช้ Green Energy อยู่ที่ประมาณ 2% เท่านั้น เมื่อเทียบกับพลังงานรูปแบบอื่น สำหรับ STT GDC ได้ตั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืนด้วยการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้เหลือศูนย์ภายในปี 2573

                ในวันที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือความผันผวนของเศรษฐกิจ หรือผลกระทบจากภาวะสงครามที่เป็นตัวเร่งในการปฏิวัติโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ส่งผลให้คนทั่วโลกต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการทำงานเป็นรีโมทเวิร์ค และใช้ชีวิตผ่านออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการถูกล็อคดาวน์ ข้อมูลจำนวนมหาศาลถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น AI, IoT, นวัตกรรมของระบบคลาวด์ โซลูชั่นจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ผู้ผลิตคอนเทนต์ และผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ตลอดจนองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ผลักดันให้การรักษาความปลอดภัยดิจิทัลและความสามารถในการปรับขนาดธุรกิจได้เกิดความสำคัญเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจในอุตสาหกรรมการเงินที่เป็น Backbone สำคัญของระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากฝั่งธุรกิจที่ต้องการความมั่นคงด้านข้อมูล ในขณะเดียวกันยังสอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ ๆ ของอุตสาหกรรมการเงินทั่วโลกและนำไปสู่ความมั่นใจในระบบดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถกำหนดแนวทางความสำเร็จของธุรกิจในอนาคตได้ชัดเจนและยั่งยืน

…………………………………………………………………………….

เกี่ยวกับ เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย)

เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) เป็นบริษัทร่วมทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “FPT” ผู้นำการให้บริการสมาร์ทแพลตฟอร์มด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร และเอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ หรือ “เอสทีที จีดีซี” (STT GDC) ผู้นำด้านการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับโลก จากสิงคโปร์  

 

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด