“เกษตร”เดินหน้าพัฒนาเกษตรอินทรีย์วิถีในเมือง มุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและอาหารปลอดภัย

“เกษตร”เดินหน้าพัฒนาเกษตรอินทรีย์วิถีในเมือง มุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและอาหารปลอดภัย

“เกษตร”เดินหน้าพัฒนาเกษตรอินทรีย์วิถีในเมือง

มุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและอาหารปลอดภัย

              นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้เกียรติบรรยาย ในหัวข้อเรื่อง “เกษตรอินทรีย์วิถีในเมือง สู่ BCG Model” ในงานสัมมนาออนไลน์ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนวิถีในเมือง ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาตระหนักถึงนโยบายและความสำคัญของเกษตรกรรมยั่งยืนโดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองที่สร้างความมั่นคงทางอาหารของคนเมือง รวมถึงสนับสนุนการสร้างพื้นที่เกษตรกรรมในเมืองให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจชุมชนมีรายได้ด้วยเศรษฐกิจสีเขียว

นายอลงกรณ์ ได้กล่าวถึง 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ(Sustainable Development Goals :SDGs) เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการกำหนดแผนแม่บทเพื่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมสู่ความยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยเป็นครัวของโลกมีศักยภาพและเป้าหมายในการเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกเกษตรปลอดภัย และอาหารปลอดภัยท็อปเทนของโลก โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ ยุทธศาสตร์ 3 s (Safety-Security-Sustainability )เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน

โดยยกตัวอย่างการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศๆเช่น จีน สวีเดน สิงคโปร์ อัลบาเนีย เกาหลี ญี่ปุ่นที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปรับพื้นที่สีเขียวในเมืองให้เข้ากับพื้นที่ในประเทศไทย

ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้วางหมุดหมายการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนทั้ง 5 สาขา คือ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรผสมผสานครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและทำการเกษตร เป็นการพัฒนาแบบคู่ขนานทั้งในเมืองและชนบท

สำหรับในพื้นที่เมือง มีโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองเน้นการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย โดยมีคณะทำงานด้านต่าง ๆเช่น คณะทำงานพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนพื้นที่มหาวิทยาลัย (Green Campus) คณะทำงานพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนพื้นที่โรงเรียนและวิทยาลัย (Green School and College) พื้นที่วัด (Green Temple) คณะทำงานพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนพื้นที่ชุมชนและท้องถิ่น (Green Community) เน้นการทำงานบนความร่วมมือของทุกภาคส่วนในลักษณะการเป็น partnership ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน  ภาควิชาการ ภาคเกษตรกรและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทาง BCG Model

ส่วนในชนบทมีโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล (Tumbom Sustainable Agriculture Development Project : TAP) ภายใต้แนวคิด “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน เพื่อชุมชน” พร้อมกัน77จังหวัดโดยคิกออฟที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดแรก มีโครงสร้างการดำเนินงานผ่าน คณะกรรมการฯ คณะอนุกรรมการฯ และคณะทำงานฯ ในระดับส่วนกลาง ระดับส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล 7,255 ตำบล ครอบคลุมทุกจังหวัด

เพื่อมุ่งสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มรายได้เกษตรกรและชุมชน ยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยโดยใช้ 12 คาดงัดเป็นเครื่องมือในการสร้างจุดเปลี่ยน และผลักดันภาคการเกษตรของไทยสู่การเป็นประเทศผู้ผลิต ส่งออก เกษตรปลอดภัย และอาหารปลอดภัยของโลกต่อไป.

You may also like

มาสเตอร์การ์ดเปิดตัว Pay Local เพิ่มช่องทางผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในเอเชีย รับชำระเงินจากผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดกว่า 2 พันล้านราย

มาสเตอร์