เงินบาทกลับมาอ่อนค่า หุ้นไทยร่วง จากแรงขายต่างชาติ ลุ้นผลประชุมเฟด และ กนง.

เงินบาทกลับมาอ่อนค่า หุ้นไทยร่วง จากแรงขายต่างชาติ ลุ้นผลประชุมเฟด และ กนง.

เงินบาทกลับมาอ่อนค่า

หุ้นไทยร่วง จากแรงขายต่างชาติ

ลุ้นผลประชุมเฟด และ กนง.

สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

  • เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนที่ 33.66 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะพลิกอ่อนค่ากลับมาช่วงปลายสัปดาห์ตามทิศทางราคาทองคำในตลาดโลกและสกุลเงินเอเชีย

เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ ขาดแรงหนุน เนื่องจากตลาดประเมินโอกาสความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในการประชุม FOMC เดือนธ.ค.นี้

อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงตามทิศทางเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางการคาดการณ์ของตลาดว่า ทางการจีนอาจทยอยปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าลงในปี 2568 เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดจากมาตรการภาษีการค้าของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นอกจากนี้เงินบาทยังมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากการร่วงลงของราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้น โดยมีแรงหนุนจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB และตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย. ที่ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด

ในวันศุกร์ที่ 13 ธ.ค. 2567 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 34.13 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 34.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (6 ธ.ค. 67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 9-13 ธ.ค. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทย 5,907 ล้านบาท และ 6,246 ล้านบาท ตามลำดับ

สัปดาห์ระหว่างวันที่ 16-20 ธ.ค. ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 33.60-34.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมกนง. (18 ธ.ค.) ผลการประชุม FOMC (17-18 ธ.ค.) และ Dot Plot ของเฟด ผลการประชุม BOJ (18-19 ธ.ค.) ผลการประชุม BOE (19 ธ.ค.) การประกาศอัตราดอกเบี้ย LPR ของจีน รวมถึงสัญญาณเงินทุนต่างชาติ ทิศทางเงินหยวนและราคาทองคำในตลาดโลก

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิต/บริการ (เบื้องต้น) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค. ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสอง และอัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคา PCE/Core PCE เดือนพ.ย. ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/2567 (final) และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิต/บริการ (เบื้องต้น) เดือนธ.ค. และอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย. ของอังกฤษและยูโรโซน รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจเดือนพ.ย. ของจีน อาทิ ดัชนีราคาบ้าน การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรด้วยเช่นกัน

สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

  • ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงตลอดสัปดาห์ตามแรงขายของต่างชาติ

ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ตามแรงขายทำกำไรของนักลงทุน เนื่องจากไร้ปัจจัยใหม่ๆ เข้ามากระตุ้นตลาดประกอบกับมีวันหยุดในช่วงระหว่างสัปดาห์ อย่างไรก็ดี แม้จะมีประเด็นเกี่ยวกับนโยบายของภาครัฐที่จะผลักดันในปีหน้า แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะประคองให้ตลาดหุ้นไทยขยับขึ้นได้ ทั้งนี้หุ้นกลุ่มพลังงานและโรงกลั่นร่วงลงมากในสัปดาห์นี้ เนื่องจากเผชิญแรงขายทำกำไร ประกอบกับมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ไทยอาจรับผลกระทบจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงต่อเนื่องในช่วงท้ายสัปดาห์สอดคล้องกับตลาดหุ้นภูมิภาคท่ามกลางแรงขายเพื่อลดสถานะการลงทุนที่มีความเสี่ยงระหว่างรอติดตามทิศทางนโยบายการเงินของทั้งไทยและต่างประเทศจากการประชุมเฟดและกนง.ซึ่งจะจัดขึ้นในสัปดาห์หน้า

ในวันศุกร์ที่ 13 ธ.ค. 2567 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,431.67 จุด ลดลง 1.40% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 38,475.83 ล้านบาท ลดลง 6.00% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 1.32% มาปิดที่ระดับ 317.37 จุด

สัปดาห์นี้(16-20 ธ.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,420 และ 1,400 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,445 และ 1,460 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมเฟด (17-18 ธ.ค.) การประชุมกนง. (18 ธ.ค.) รวมถึงทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนธ.ค. ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสอง รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล ดัชนี PCE/Core PCE Price Index เดือนพ.ย. จีดีพีไตรมาส 3/2567 รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุม BOJ และ BOE ดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนธ.ค. ของญี่ปุ่น ยูโรโซนและอังกฤษ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพ.ย. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน การกำหนดอัตราดอกเบี้ย LPR เดือนธ.ค. และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนพ.ย. ของจีน อาทิ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

You may also like

จีนวาดแผนเศรษฐกิจปี 68 โหมขับเคลื่อนนโยบายมหภาคเชิงรุก

จีนวาดแผ