“เชฟรอน”ส่งมอบ“ส่วนบนของแท่นหลุมผลิต” ให้ CPOC เพื่อนำไปใช้ใหม่ในพื้นที่ JDA ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนทันที 690 ตัน

“เชฟรอน”ส่งมอบ“ส่วนบนของแท่นหลุมผลิต” ให้ CPOC เพื่อนำไปใช้ใหม่ในพื้นที่ JDA ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนทันที 690 ตัน

“เชฟรอน”ส่งมอบ“ส่วนบนของแท่นหลุมผลิต”

ให้ CPOC เพื่อนำไปใช้ใหม่ในพื้นที่ JDA

ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนทันที 690 ตัน

นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการนำเทคนิคนี้มาใช้ โดยปัจจุบัน เชฟรอนได้รื้อถอนส่วนบนของแท่นหลุมผลิตมาใช้ใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 12 แท่น ทำให้สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 10,000 ตัน เทียบเท่ากับการดูดซับคาร์บอนของต้นไม้ที่เติบโตมานาน 10 ปี กว่า 165,351 ต้น

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด พร้อมด้วย บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซ์พลอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ร่วมทุน ได้ส่งมอบส่วนบนของแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม (Topside) พร้อมอุปกรณ์จำนวน 1 แท่น ให้แก่ บริษัท Carigali – PTTEPI Operating Company Sdn. Bhd. (CPOC) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงาน (operator) ในพื้นที่เขตพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Joint Development Area – JDA) สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ในการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ JDA โดยมีเจ้าหน้าที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

การโอนส่วนบนของแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ในพื้นที่ JDA ในการติดตั้งหลุมผลิตเพิ่ม ได้รับการอนุมัติจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หลังจากที่ได้มีการ   ลงนามสัญญาซื้อขายไปเมื่อ 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งการส่งมอบในครั้งนี้จะช่วยลดการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียมในต่างประเทศ และลดปริมาณการจัดการของเสียจากเหล็กที่เกิดจากการรื้อถอนประมาณ 576 ตัน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 690 ตัน นับเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้คิดค้นและริเริ่มโครงการ “การรื้อถอนส่วนบนของแท่นหลุมผลิตมาใช้ประโยชน์ใหม่” หรือ “Topside Reuse” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการนำเทคนิคนี้มาใช้ โดยปัจจุบัน เชฟรอนได้รื้อถอนส่วนบนของแท่นหลุมผลิตมาใช้ใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 12 แท่น ทำให้สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 10,000 ตัน เทียบเท่ากับการดูดซับคาร์บอนของต้นไม้ที่เติบโตมานาน 10 ปี กว่า 165,351 ต้น

บรรยายภาพ

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน นำโดย นายวิศรุต ตั้งสุนทรขัณฑ์ (ที่ 5 จากซ้าย) รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และคณะฯ เข้าเยี่ยมชมแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ได้รับการส่งมอบ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จ. ชลบุรี โดยมี นายอรรจน์ ตุลารักษ์ (ที่ 5 จากขวา) รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายโครงการร่วมทุน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ให้การต้อนรับ ภายหลังจากที่ บริษัท เชฟรอน     ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด พร้อมด้วย บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซ์พลอเรชั่น จำกัด ได้ส่งมอบส่วนบนของแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วให้กับ บริษัท CPOC เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ใหม่สำหรับการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Joint Development Area – JDA)

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด นำโดย นายเสรี เม่งช่วย (ซ้าย) หัวหน้ากลุ่มวิศวกรรมและใบอนุญาตในกิจกรรมการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่เลิกใช้งานในกิจการปิโตรเลียม เป็นตัวแทนบริษัทฯ ร่วมในพิธีลงนามส่งมอบส่วนบนของแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมให้กับ บริษัท Carigali – PTTEPI Operating Company Sdn. Bhd. (CPOC) นำโดย นายวีระพงษ์ ติวะนันทกร (ขวา) ผู้จัดการโครงการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ใหม่สำหรับการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Joint Development Area – JDA) โดยมีผู้แทนจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

…………………………

You may also like

จีนวาดแผนเศรษฐกิจปี 68 โหมขับเคลื่อนนโยบายมหภาคเชิงรุก

จีนวาดแผ