เดินหน้าเต็มสูบ!กัญชา-ผลไม้-ประมง พลิกโฉมเกษตรตะวันออก

เดินหน้าเต็มสูบ!กัญชา-ผลไม้-ประมง พลิกโฉมเกษตรตะวันออก

 เดินหน้าเต็มสูบ!กัญชา-ผลไม้-ประมง พลิกโฉมเกษตรตะวันออก 

                “อลงกรณ์ นำเกษตรฯ” เร่ง พลิกโฉมภาคตะวันออก สั่ง AIC 5 จังหวัด เดินหน้าสร้างอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร โมเดลซิลิคอนวัลเลย์เน้นเทคโนโลยีเกษตรวางกลยุทธ์ โลจิสติกส์เกษตรระบบรางเปิดประตูตะวันออกสู่อินโดจีนและตลาดโลก ซึ่งภาคตะวันออกเป็นแหล่งเกษตรสำคัญของประเทศ โดยมีพืชเศรษฐกิจสำคัญ คือ ผลไม้ ยางพารา และกำลังมีการพัฒนาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ คือ “กัญชา” ในขณะที่ภาครัฐเดินหน้าสร้างอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร โดยใช้เทคโนโลยีเกษตร และการเชื่อมโลจิสติกส์เกษตรสู่อินโดจีน และตลาดโลก

                นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) เปิดเผยว่า…กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยี (AIC) ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 9 ใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และ สระแก้ว

                ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้นำไปพิจารณาต่อยอด และดำเนินการ Business matching การสนับสนุนทุนวิจัยและนำเข้าสู่ Innovation Catalog เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรต่อไป

                โดยมีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและผลงานของ AIC ทั้ง 5 ศูนย์ ที่มีความโดเด่น เหมาะสมที่จะผลักดันพัฒนาและแก้ปัญหาภาคการเกษตรในพื้นที่ ประกอบด้วย

                1. การพัฒนาการผลิตอากาศยานไร้คนขับของศูนย์ AIC จันทบุรีที่ผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ (Made In Thailand) เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมแม่นยำ (Precious Agriculture) และสนับสนุนการเป็น Silicon valley เมืองหลวงแห่งผลไม้ การแปรรูปผลไม้ของมหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก โมเดลการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสู่ฟาร์มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ของศูนย์ AIC นครนายก

                2. การพัฒนาระบบฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming) ของวิทยาลัยชุมชนซึ่งเป็นศูนย์ AIC จังหวัดตราด

                3. การพัฒนาพันธุ์กุ้งก้ามกรามกุ้งขาว ของมหาวิทยาลัยบูรพาตอบโจทย์ประมงเพาะเลี้ยง และอุตสาหกรรมอาหารการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “กัญชา” เครื่องดื่มแนวใหม่ (Functional drink) จากกัญชาของศูนย์ AIC ปราจีนบุรี โดยประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาล เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ต่อไปเพื่อชูจุดเด่น “ปราจีนบุรีเมืองแห่งสมุนไพร”

                สำหรับคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.)ได้เห็นชอบในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและตอบโจทย์ตลอดห่วงโซ่ของผลผลิตการเกษตร โดยขณะนี้ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (Food & Agro industry promotion subcommittee) และคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระดับภาค 5 ภาคภายใต้ 2 โครงการหลัก คือ

                1. โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารใน 18 กลุ่มจังหวัด เพื่อกระจายการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเพิ่มการแปรรูปสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรครอบคลุมทุกจังหวัดทุกกลุ่มจังหวัดตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่

                2. โครงการเกษตรอัจฉริยะเกษตรแม่นยำ 2 ล้านไร่ โดยใช้เทคโนโลยีและเกษตรแปลงใหญ่เป็นแกนขับเคลื่อนร่วมกับกิจการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (Big Brothers)

                โดยในเขตกลุ่มจังหวัดนี้มีศักยภาพสูงมากในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรผลไม้ สมุนไพร ประมง พืชอนาคต กัญชงกัญชา เครื่องจักรกลเกษตรเป็นต้น โดยมีต้นแบบจากเขตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปครบวงจรในจังหวัดชลบุรีและในเขตพัฒนาพิเศษตะวันออก หรือ EEC

                นอกจากนี้ ได้มีการมอบหมายให้คณะ กรกอ.ภาคตะวันออกขับเคลื่อนโครงการสร้างนิคมอุตสาหกรรม เขตผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือเขตชุมชน

                อุตสาหกรรมนับเป็นเขตอุตสาหกรรมอาหารเป็นโซนที่ 9 ซึ่ง AIC จันทบุรี สนใจที่จะพัฒนาซิลิคอนวัลเลย์ ผลไม้ภายใต้คอนเซ็ปท์ “มหานครผลไม้” ในรูปแบบเดียวกับที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดดำเนินการสร้างซิลิคอนวัลเลย์แห่งเทคโนโลยีในมลรัฐแคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐ

                “การพัฒนากลุ่มจังหวัดนี้จะต้องผนึกศักยภาพกับทางอีอีซี 3 จังหวัด บวกกับจังหวัดภาคตะวันออก 5 จังหวัด ตามแผนพัฒนาเชื่อมโยงภาคการเกษตร โดยใช้ศักยภาพการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่ตลาดอินโดจีน ได้แก่ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ที่มีตลาดรองรับ ด้วยประชากรกว่า 120 ล้านคน ซึ่งอยู่ติดพรมแดนภาคตะวันออก คือ จันทบุรี ตราด และสระแก้ว”

                พร้อมทั้งเชื่อมภาคตะวันออก-เชื่อมโลกด้วยเส้นทางโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าไปทุกมณฑลในจีน และผ่านจีนสู่ภูมิภาคเอเซีย ยุโรป และรัสเซีย ด้วยระบบราง โดยมีการขนส่งผ่านด่านโมฮ่านเส้นทาง ไทย-ลาว-จีน และผ่านด่านผิงเสียงบนเส้นทาง ไทย-ลาว-เวียดนาม

                ทั้งนี้ จะเป็นระบบการขนส่งใหม่รับมือมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดในประเทศที่ต้องขนส่งสินค้าผ่านและในประเทศคู่ค้า

                แนวทางทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของ…“5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรกรรม” ของ “เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภาคตะวันออกสู่มิติใหม่ๆ อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ภาครัฐได้มีการขับเคลื่อน โครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก หรือ EFC ซึ่งจะมีการขับเคลื่อนห้องเย็นทันสมัย เพื่อให้ผลไม้ไทยขายตรงสู่ตลาด และเกษตรกรรายได้ไม่ขาดมือ โดยเป็นโครงการหลักของแผนพัฒนาภาคเกษตรใน EEC ซึ่งเมื่อวันที่ 25 ม.ค.2564 ได้มีการลงนามความร่วมมือจัดทำระบบห้องเย็น ระหว่างบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

                โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เตรียมจัดทำระบบสมาชิกชาวสวนผลไม้ และกลุ่มสหกรณ์ ที่พร้อมเข้าร่วมโครงการ โดยระยะแรกจะคัดเลือกจากกลุ่มชาวสวนทุเรียนที่ได้รับมาตรฐานสากลสำหรับส่งออก (GAP)ในเบื้องต้นโครงการ EFC ตั้งเป้าสร้างรายได้ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น 20-30%

You may also like

4NOLOGUE ผนึก Poriin เล่นใหญ่ ปล่อยคอนเสิร์ตแห่งปี “FROSTY VILLAGE” ชวนแฟนๆจอยปาร์ตี้สนุกสุดขั้ว  

4NOLOGUE